ทำความรู้จักการเทรดสไตล์ SMC การดู Order Block ตัวอย่างการเข้าออเดอร์ด้วยการเทรด OB แบบ Risk Entry และรอ Confirmation ในการสอบกองทุน Forex
รู้จักกับ Smart Money Concept
Smart Money Concept หรือ SMC เป็นแนวทางการเทรดแบบหนึ่งที่อาศัย Price Action เป็นหลัก คือเน้นการดูรูปแบบกราฟอย่างเดียว ไม่ใช้อินดิเคเตอร์ใด ๆ โดยมีหลักการที่เชื่อว่าตลาดมันมี Smart Money อยู่เบื้องหลังอัลกอริธึมที่ทำให้ราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ
คำว่า Smart Money ที่เป็นตัวการขับเคลื่อนราคานี้เรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าเป็น Market Maker ซึ่งก็คือ สถาบันอะไรก็ตามที่มีบทบาทสำคัญต่อราคา เช่น ธนาคารกลาง เฮดจ์ฟันด์ ซึ่งคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ปั่นป่วนและเป็นมือที่มองไม่เห็นที่คอยควบคุมตลาด
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เรามักรู้สึกว่าตลาดมันกำลังสวนทางกำลังเราเสมอ เหมือนเรากำลังเล่นเกมกับคู่แข่งที่นำหน้าเราไปหนึ่งก้าวเสมอ พอกดบาย มันก็เซล พอเราเซล กราฟก็ขึ้น พอ SL ปุ๊บกราฟถึงวิ่งตามทางของเรา
เพราะอย่างนี้ SMC จึงเป็นเทคนิคการอ่านกราฟที่เพื่อให้เราเทรดตาม Smart Money ให้แนวทางการเข้าตลาดที่ปลอดภัย และไม่ถูกกิน SL (Stop Hunt) โดยการเทรดสไตล์ SMC จะมีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เราต้องทำความเข้าใจ เช่น Order Block, Liquidity Grab, Mitigation, Fair Value Gap ฯลฯ
ถ้าใครสนใจอยากเรียนรู้เรื่อง Smart Money Concept แบบของจริง แนะนำให้ไปเรียน ICT Mentorship โปรแกรมมีวิดีโอให้ดูแบบเต็ม ๆ โดย ICT (Inner Circle Trader) บน YouTube แต่วิดีโอเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดนะ เขาสอนแบบฟรี สอนจริงจัง ไม่มีขายคอร์ส ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงอะไรเลย ส่วนตัวแอดเรียน Mentorship 2022 แต่เห็นเขาเริ่มสอนของปี 2023 ด้วยเหมือนกันลองไปที่ช่องของ ICT ได้
Order Block คืออะไร?
Order Block ถ้าแปลตรงตัวก็คือ ชุดคำสั่ง ซึ่งในแนวทาง SMC เขาเชื่อว่ามันมีอัลกอริธึมบางอย่างที่ธนาคารแห่งใหญ่ ๆ หรือ Market Makers ทั้งหลายนั้นจะทยอยออก Order Blocks (OB) ตามช่วงเวลาต่าง ๆ หรือเมื่อราคาแตะระดับ Key Level ต่าง ๆ ดังนั้น ทันทีราคากลับไปแตะ OB กราฟจะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับไว
ที่เรียกว่า Blocks เพราะมันจะทยอยออกมาชุด ๆ เห็นได้จากแท่งเทียนที่เวลากราฟวิ่งที่จะเป็นแท่งเขียวหรือแท่งแดงติดต่อกันหลาย ๆ แท่ง โดย Order Block นั้นมีสองแบบคือ
- Bearish Order Block (BeOB) คือ หากราคาขยับมาถึง BeOB ราคาจะดีดกลับลงไปข้างล่าง
- Bullish Order Block (BuOB) คือ หากราคาลงมาแตะ BuOB ราคาจะดีดกลับขึ้นไปด้านบน
บางคนก็มองว่า Order Block มันก็คือ Supply/Demand Zone แบบหนึ่งที่กรองมาแล้วอีกที แต่บางคนก็แย้งว่ามันคนละคอนเซปต์กับแนวรับแนวต้านที่เราเข้าใจกันทั่วไป
วิธีดู Order Block – Bearish OB และ Bullish OB
วิธีการดู Order Block เท่าที่แอดศึกษามาของแต่ละมันจะไม่เหมือนกันเป๊ะ ๆ แต่ก็มีวิธีการดูคล้าย ๆ กัน คือ
- Bearish Order Block คือแท่งเทียน “ขึ้น” สุดท้ายก่อนที่ราคาจะ “ลง” (BeOB) (The last UP candle before the price goes down)
- Bullish Order Block คือ แท่งเทียง “ลง” แท่งสุดท้ายก่อนที่ราคาจะขยับขึ้น
ดังนั้น ถ้าเราสังเกตตามกราฟจุดที่มีแท่ง Order Block ติด ๆ กันหลายแท่ง จำง่าย ๆ ว่าเป็นแท่งก่อนหน้าก่อนที่ราคาจะเริ่มดรอปหรือเริ่มพุ่งนั่นเอง
ถ้าอยากสังเกตเห็นว่าตอนไหนที่ราคาเริ่มพุ่งหรือเริ่มกระชากแรง ๆ วิธีสังเกตคือดูว่าแท่งไหนมี imbalance คือเป็นแท่งเทียนมีลักษณะยาวยืดมากกว่าแท่งอื่น ๆ และแท่ง OB ก็จะอยู่ก่อนหน้าแท่งเทียนที่มี imbalance และยิ่งแปลว่า OB นั้นจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น (ราคามีโอกาสตอบสนองสูง)
ลองดูตัวอย่างจากในรูปด้านล่างนี้

จาก OB ด้านบนจะเห็นได้ว่าแท่งสีเขียวแท่งบนสุดเป็นแท่งขาขึ้นแท่งสุดท้ายก่อนที่กราฟจะเกิดเป็น Order Block สี่แท่งติดต่อกัน
ส่วน OB ด้านล่างนั้นเป็นแท่งสีแดงแท่งสุดท้ายก่อนที่ราคาจะวิ่งพรวดขึ้นไปด้านบนจนเกิดแท่ง Imbalance คือมีแท่งที่มันยาวผิดปกติเมื่อเทียบกับแท่งอื่น ๆ
ส่วนตรงกลางเป็น Liquidity คือเม็ดเงินที่เรา ๆ ท่าน ๆ เทรดกัน ซึ่งเป็นโซนที่บ่อยครั้ง ไม่ว่าเราจะ Buy หรือ Sell เราจะถูก Hunt หรือ ถูกเจ้ามือล่าเสมอ เช่น ในตัวอย่างนี้ถ้าเราวางออเดอร์ในโซน Liquidity แล้วตั้ง SL ใกล้ ๆ เราจะโดนกิน SL ทั้งสองขาไม่ว่าเราจะเซลหรือบาย
ทั้งนี้ Order Block ไม่ใช่ว่าจะเทรดได้ทุก OB เสมอไป มันก็จะมีหลักการอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบ (confluence) OB ที่ดีควรมี imbalance เช่น ในตัวอย่างในรูป OB ด้านล่างทำให้เกิด order block ที่มี imbalance เป็นแท่งสีเขียวยาว ๆ ตามมา ส่วนด้านบนไม่มี
วิธีเข้าเทรดแบบ Risk Entry โดยใช้ Order Block
แล้วมีวิธีเทรดยังไง? เพราะอย่างนี้เอง SMC จึงให้สนใจกับ OB ที่มีความเป็นไปได้สูง ถ้าถามว่าแล้ว OB ทั้งสองอันนี้ อันไหนใช้ได้ผล มันก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของเรา ถ้าเราเทรดแบบเสี่ยงเข้าเลย ไม่รอ confirmation
วิธีในการเข้าก็คือ รอให้กราฟเกิด OB แล้วเราก็ตั้ง Pending Order อย่าง Buy Limit หรือ Sell Limit ได้เลย แล้ว Take Profit ที่ OB ถัดไป
เช่น ในตัวอย่างนี้
จะเห็นได้ว่าถ้าเราวาง Order ตั้งแต่ราคาทองคำ 1901 คือ กรอบด้านบนของ OB ล่าง เราจะทำ RR ได้ถึง 1:2.68 ส่วนถ้าเราวาง Sell Limit กับ OB ด้านบนเราจะได้ RR กับออเดอร์นี้ถึง 1:3.8
แต่มันก็มีความเสี่ยงสูง อย่างที่บอกมันคือวิธีแบบ Risk Entry และเห็นได้จากกราฟคือ ราคาพรวดทะลุ OB ขึ้นไปในที่สุด
วิธีการเข้าเทรดแบบรอ confirmation
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า OB ไหนน่าจะได้ผลดี ไม่ได้ผลดี หรือมีการ confirm อย่างไร การหาสัญญาณ confirm ของ Smart Money Concept ก็จะอาศัยการดูหลาย ๆ อย่างเป็นองค์ประกอบ
อย่างในรูปภาพนี้เป็นตัวอย่างเดิม แต่เป็นการเข้าออเดอร์แบบรอสัญญาณ confirmation

จากภาพด้านบนจะสามารถสรุปได้ดังนี้
- ราคาขยับในแนวโน้มขาขึ้น เกิด OB พร้อมมีแท่งสีเขียวที่มี Imbalance (imb) ข
- ราคาย่อตัวลงมา โดยเกิด consolidation แบบขาลง คือยึก ๆ ยือ ๆ ลงมาด้านล่าง
- ราคาลงมาแตะกรอบสีเหลือง OB ด้านล่าง แล้วเกิดปฏิกิริยาอย่างชัดเจนคือดีดกลับขึ้นไปจนเกิด ChoC (Change of Character) แปลว่าคลื่นย่อยที่ยืก ๆ ยือ ๆ อยู่ ๆ ก็เจอ break ทั้งหมด
- ปฏิกิริยานี้เป็นตัวบอกเราว่า OB นั้น “น่าจะ” มีโอกาสเป็นไปได้สูง (high probability OB)
- เข้าเทรดเมื่อราคากลับมาแตะที่กรอบสีเขียว หรือ Fair Value Gap วาง TP ที่ High เดิมก็ได้ หรือตาม RR ที่เราต้องการกำหนด เช่น 1:2, 1:3, 1:4, 1:6 ส่วน SL สามารถวางได้ทั้งที่ Low ของราคาที่ Break หรือ low ของ OB ก็ได้
ทั้งนี้ Fair Value Gap (FVG) เป็นพื้นที่ระหว่างแท่งสีแดงกับแท่งสีเขียวที่สอง ซึ่งไม่มีไส้เทียนสมานอยู่ตรงกลาง ซึ่งคำอธิบายก็คือ Order Block ที่มันออกติดต่อกันพรวดมาก ๆ มันจะทิ้งความไม่สมดุลเอาไว้ ให้ราคาต้องกลับมา match ออเดอร์ปิด gap ตรงนี้ แล้วจึงจะไปตามทิศทางเดิมนั่นเอง
สำหรับแอดแล้ว OB ที่ดีนั้นควรจะเป็น OB ที่นอกจากจะมี imb แล้วยังทำให้เกิด Liquidity Sweep หรือบางคนก็เรียก Rejection คือมีไส้เทียนยาวที่กวาด SL ออเดอร์ก่อนหน้าไปหมดแล้ว เช่น อยู่ ๆ กราฟกระชากลงมาแตะจุด OB แล้วขึ้นไป Break Structure อย่างในตัวอย่างข้างบนอันนี้คือเตรียมรอกราฟกลับมาค่อยเข้าออเดอร์ได้เลย
อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าว ๆ ส่วนการดู OB ยังมีเรื่องอื่น ๆ ประกอบ เช่น mitigation, daily bias ฯลฯ สามารถไปดูได้ที่ช่อง YouTube ของ ICT ตามที่แอดบอกข้างต้น
ถ้าถามว่าเทรดได้ทุก TF ไหม เทรดได้ทุก TF เลยวิธีนี้ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีดู TF ใหญ่ก่อนเพื่อหา bias (คือหาอคติว่าเราจะเล่นหน้าบายหรือเซล) แล้วเข้าเทรดใน TF เล็ก เช่น ถ้าเราวาด OB ใน TF 1 ชั่วโมง เมื่อราคาเข้ามาแตะ OB แล้ว ให้ไปดูที่ TF เล็ก คือ 5 นาที หรือ 15 นาที แล้วแต่ แล้วรอให้ราคา break ค่อยเข้าก็ได้เป็นต้น และเทรดได้ทุกแบบทั้ง Swing trading, day trading
ตัวอย่างเพิ่มเติม
อันนี้คือตัวอย่างออเดอร์แบบ risk entry
วันนี้พอเท่านี้ก่อน ขอให้ทุกท่านโชคดีในการเทรดค่ะ