ศึกษาโครงสร้างราคาหรือ Market Structure ในการเทรดฟอเร็กซ์ วิธีหาอคติหรือเข้าใจหน้าเทรดด้วยการสังเกตโครงสร้างราคา ทำความเข้าใจเรื่อง Strong & Weak High/Low ในการเทรด
การเทรดสำหรับหลายคนอาจเป็นเรื่องที่เรียบง่าย เพราะมันไม่ buy ก็ sell แต่ทำไมหลายคนจึงยังเทรดขาดทุนอยู่? คนส่วนใหญ่มักจะเทรดแบบเข้าข้างตนเอง โดยคิดว่าราคาจะต้องไปทางนั้นทางนี้ โดยไม่มีกฎตายตัว และวินัยในการเทรดที่ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบ
การทำความเข้าใจโครงสร้างราคานั้นมีผลเป็นอย่างมากในการเทรดฟอเร็กซ์ และการสอบกองทุน เพราะการเข้าใจโครงสร้างราคานั้นจะช่วยให้เราเข้าใจว่าหน้าเทรดไหนเป็นหน้าเทรดที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุด ช่วยในการสร้างอคติ (bias) ในการเทรดให้กับเราและทำให้ระบบการเทรดของเรามีโอกาสทำกำไรมากขึ้น
Market Structure คืออะไร?
ไม่ว่าคุณจะเทรดคู่เงิน EUR/USD, AUD/JPY คู่ทองคำ หรือน้ำมัน คริปโต หรือสินทรัพย์ประเภทใดก็แล้วแต่ ทุกอย่างที่มีราคานั้นจะมีกราฟที่บ่งบอกโครงสร้างราคาของมัน
โครงสร้างราคา หรือ โครงสร้างตลาด (Market Structure) คือรูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาในภาพรวมว่าราคามีแนวโน้มในลักษณะใด โดยแบ่งออกเป็นสองรูปแบบหลักคือ
Bearish Market Structure – โครงสร้างราคาแบบแนวโน้มขาลง
Bullish Market Structure – โครงสร้างราคาแบบแนวโน้มขาขึ้น
การเข้าใจ Market Structure นี้สำหรับเทรดเดอร์หลายคนถือว่าเป็นปัจจัยที่เป็น game changer ให้กับการเทรดได้ จากที่เคยขาดทุนบ่อย ๆ ก็เริ่มมีกำไรเพราะอ่านโครงสร้างราคาเป็น การเข้าใจโครงสร้างราคาจะช่วยให้เรารู้ว่าเรากำลังอยู่ตรงไหนของเทรนด์ และเรากำลังสวนเทรนด์อยู่หรือไม่
- BMS = Break in Market Structure
- RH = Range High
- RL = Range Low
ความแตกต่างระหว่าง BMS และ ChoC
ในการเทรดแนวทางแบบ Smart Money Concept หรือ SMC นั้นจะรูปแบบการสังเกตโครงสร้างราคาสองแบบ คือ Break of Market Structure (BMS) และ Change of Character (ChoC) ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
- BMS – หรือบางทีก็เรียกว่า BoS (Break of Structure) เป็นกรณีที่เทรนด์มีความต่อเนื่อง โดยราคา break จากโครงสร้างเดิมไปในทิศทางเดียวกันที่สอดคล้อง คือ เป็นการ break เพื่อให้เทรนด์ไปต่อนั่นเอง
- ChoC หรือ Change of Character เป็นการเปลี่ยนลักษณะของเทรนด์ที่กำลังจะกลับตัว คือกราฟมีการกลับตัวจากเทรนด์ขาขึ้นเปลี่ยนเป็นขาลง หรือจากเทรนด์ขาลงก็เปลี่ยนเป็นเทรนด์ขาขึ้น
Strong and Weak Highs & Lows
การทำความเข้าใจโครงสร้างราคานั้น เราต้องเข้าใจด้วยว่า กราฟไม่ได้ขึ้นเป็นเส้นตรงหรือเป็นบันไดขั้น ๆ ที่สมมาตรเสมอไป ในคลื่นใหญ่นั้นจะประกอบด้วยคลื่นใหญ่ ดังนั้น ทุกครั้งที่เราเห็นราคาขึ้นทำ High ใหม่ เราจะต้องสังเกตให้เข้าใจว่า High นั้นเป็น High ที่ Strong หรือ Weak
วิธีการสังเกตง่าย ๆ คือใช้วิธีตีเส้นแนวนอนเพื่อหาจุดที่ราคาทำ BOS/BMS เราก็จะได้จุดที่เรียกว่าเป็น Strong High หรือ Strong Low
- ในเทรนด์ขาขึ้น (Bullish) เราจะให้ความสำคัญกับ Strong Low มากกว่า เพราะเป็นจุด Low ที่ราคาไม่ควรหลุดลงไปต่ำกว่านั้น ในกรณีที่ราคายังคงอยู่ในเทรนด์ขาขึ้น
- ในเทรนด์ขาลง (Bearish) เราจะให้ความสำคัญกับ Strong High มากกว่า ซึ่งเป็นจุดแนวต้านที่ราคาไม่ควรจะขึ้นไปสูงกว่า หากยังคงบริบทเป็นแนวโน้มขาลง
ข้อดีของการเข้าใจ Market Structure
- ให้เรารีด RR ได้มากขึ้น การเข้าใจว่าเรากำลังยังอยู่ในตำแหน่งไหนในเทรนด์จะสามารถช่วยให้เราวาง position ให้สามารถวางแผน Risk to Reward Ratio ในอัตราที่ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เราเทรดตามทิศทางที่สอดคล้องกับเทรนด์ในทามเฟรมใหญ่
- ช่วยเพิ่ม win rate หรืออัตราชนะ การเข้าใจโครงสร้างราคาจะช่วยให้เราพอเข้าใจว่าฝั่งไหนกำลังได้เปรียบ และจุดไหนที่ควรเฝ้าระวังแรงซื้อหรือแรงขายที่อาจเกิดขึ้น เช่น โซนดีมานด์ หรือ โซนซัปพลาย
- เพิ่มความมั่นใจให้กับการเทรด เรื่องของจิตวิทยาและ mindset นั้นมีความสำคัญอันดับต้น ๆ ในการเทรด การเข้าใจ market structure นอกจากจะให้เรารู้หน้าเทรดแล้ว ยังจะช่วยให้เราไม่หลงทางไปกับความผันผวนในทามเฟรมเล็ก ๆ หรือช่วงที่ราคากระชากรุนแรง เพราะเรามีทิศทางการเทรดที่อยู่ในใจอยู่แล้ว จึงช่วยให้เราปฏิบัติตามแผนการเทรดที่วางไว้ได้อย่างมั่นใจ